วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บอร์ดไมโครบิต

  

ความเป็นมาของบอร์ดไมโครบิต


บอร์ดไมโครบิต (micro:bit) เป็นโครงการของสถานีโทรทัศน์ บริษัท Britsh BroadcastingnCorp. (BBC) ประเทศอังกฤษโดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มากกว่า 29 หน่วยงาน ผลิตบอร์ดเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้เรียนรู้ในยุคดิจิทัลแจกจ่ายให้กับนักเรียน จำนวน 1 ล้านบอร์ดผลิตโดย element14 และยังได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft, Samsung และมหาวิทยาลัยชื่อดังอีกมากมาย ซึ่งก่อนหน้าสถานีโทรทัศน์ BBC ได้จัดทำบอร์ดชื่อว่า “micro” ที่ผลิตโดย Acore แล้วทำการแจกให้กับเด็กๆ เมื่อปีค.ศ. 1980 ผลการดำเนินโครงการจึงทำให้เด็กๆ เหล่านั้นโตขึ้นมาแล้วทำธุรกิจทางด้าน IT ที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ในครั้งนี้ทางสถานีโทรทัศน์ BBC จึงหวังว่าบอร์ดไมโครบิต จะให้ผลแบบเดียวกัน



 ส่วนประกอบของบอร์ดไมโครบิต


1) Nordic nRF51822 เป็นชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล ARM ชิป แบบ 32 Bits ซีรีย์ Cortex-M0 ความถี่สัญญาณนาฬิกา 16 MHz (สามารถสลับความถี่ระหว่าง 16 MHz     กับ 32.768 kHz) หน่วยความจำ Flash Memory 256 kB หน่วยความจำ SRAM 16 kB และมาพร้อมกับ Bluetooth Low Energy (BLE) 2.4 GHz


2) NXP/Freescale KL26Z เป็นชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM Cortex-M0+ ความถี่สัญญาณนาฬิกา 48 MHz เพื่อใช้ในการอัปโหลดโปรแกรม รองรับการเชื่อมต่อ USB 2.0 OTG ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Nordic nRF51822 และแปลงแรงดันไฟเลี้ยงบอร์ดเป็น 3.3 โวลต์ เมื่อจ่ายไฟเลี้ยงหรือโปรแกรมผ่าน USB


3) LSM303AGR เป็นไอซีเซนเซอร์รุ่นใหม่สำหรับบอร์ด micro:bit ซึ่งเป็นการรวมเซนเซอร์ไว้ด้วยกัน ดังนี้
    ก) NXP/Freescale MMA8652 เป็นไอซีเซนเซอร์ตรวจจับความเร่งแบบ 3 แกนเชื่อมต่อผ่านบัส I2C
    ข) NXP/Freescale MAG3110 เป็นไอซีเซนเซอร์ทิศทางแบบ 3 แกน(3-axis Magnetometer) เชื่อมต่อผ่านบัส I2C

4) Micro USB Connector สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงและเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการอัปโหลดโปรแกรม

5) Battery Connector แบบ JTS มีขั้วบวกและขั้วลบ สำหรับต่อกับแบตเตอรี่ โดยรองรับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง 3 โวลต์

6)   Radio and Bluetooth Antenna
  ก) คลื่นวิทยุ (Radio) ใช้สำหรับสื่อสารระหว่างบอร์ดไมโครบิต เช่นการรับส่งข้อความ การรับส่งข้อมูลเซนเซอร์ เป็นต้น
    ข) บลูทูธ (Bluetooth) ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว สมาร์ทโฟน (Smart Phone) หรือแท็ปแล็ต (Tablet) ใช้สื่อสารหรืออัปโหลดโปรแกรมลงบนบอร์ด ซึ่งใช้ชิป Nordic nRF51822 เป็นบลูทูธพลังงานต่ำ ความถี่ 2.4 GH

7)   หลอด LED จำนวน 25 ดวง ต่อแบบอาร์เรย์ 2 มิติ ขนาด 5 x 5 และเป็นตัวตรวจจับแสง   

8)  Pins Connector มีจำนวนทั้งหมด 25 ขา ซึ่งมีจุดต่อพอร์ตอินพุตเอาต์พุต  3 ขา จุดต่อพอร์ตอินพุตเอาต์พุตแบบ Edge Connector 20 ขาไฟ 3 โวลต์ และขากราวด์โดยขาอยู่บริเวณขอบ PCB ทั้ง 2 ด้าน เป็นขาสัญญาณดังนี้
    ก)   ขา 3 V
    ข)   ขา GND
    ค)   ขา PWM จำนวน 2 หรือ 3 ขา (แล้วแต่การกำหนดค่า)
    ง)    ขา GPIO จำนวน 6 ถึง 17 ขา (แล้วแต่การกำหนดค่า)
    จ)   ขา Analog Input จำนวน 6 ขา
    ฉ)   ขา Serial I/O
    ช)   ขา SPI (Serial Peripheral Interface)
    ซ)   ขา I2C (Inter Integrate Circuit Bus)

9) ปุ่มกดสำหรับใช้เป็นอินพุตแบบดิจิทัล จำนวน 2 ปุ่ม (และ B)

10) ปุ่มรีเซต จำนวน 1 ปุ่ม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ใบงานการทดลองที่ 12 การเขียนโปรแกรมควบคุม OLED (Organic Light Emitting Diode)

   ใบงานการทดลองที่ 1 2 รายวิชา ไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์ (20128-2003) สาขา...